เมนู

ธรรม 3 ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า1
โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด
บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า
อันตราย.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส2ไว้ว่า
ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพ
นี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ หำให้ขนลุกขนพอง
บาปวิตกในใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้วผูกจิตไว้ เหมือน
พวกเด็กผูกกาไว้ที่ข้อเท้า ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า
อันตราย. คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตรายเหล่านั้นมีเท่าไรในโลก.

ว่าด้วยทิศที่ไม่เคยไป ( อมตนิพพาน)


[913] คำว่า เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ความว่า อมต-
นิพพาน คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด

1. ขุ. อิ. 25/ข้อ 228, ขุ. สุ. 25/ข้อ 320.

เรียกว่าทิศที่ไม่เคยไป ทิศที่ยังไม่เคยไปโดยกาลยืดยาวนี้ ชื่อว่าทิศที่ไม่
เคยไป บุคคลพึงประคองภาชนะน้ำมัน อันเต็มเสมอขอบปาก เต็มเปี่ยม
ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงรักษาจิตของตน
เนืองๆ ฉันนั้น เมื่อภิกษุไป ดำเนินไป ก้าวไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป.
[914] คำว่า ภิกษุพึงปราบปรามอันตรายเหล่าใด ความว่า
ภิกษุพึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอันตรายเหล่าใด
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงปราบปรามอันตรายเหล่าใด.
[915] คำว่า ในที่นอนที่นั่งอันสงัด ความว่า ในที่นอนที่นั่ง
อันสงัดเป็นที่สุด ส่วนสุด ส่วนสุดรอบ เป็นส่วนสุดแห่งภูเขาหิน เป็น
ส่วนสุดแห่งป่า เป็นส่วนสุดแห่งน้ำ หรือเป็นส่วนสุดแห่งแม่น้ำ เป็น
สถานที่เขาไม่ไถ ไม่หว่าน ไม่เป็นอุปจารแห่งพวกมนุษย์ ล่วงเลยหมู่
ชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนที่นั่งอันสงัด เพราะเหตุนั้น
พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า
เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ภิกษุพึงปราบปราม
อันตรายเหล่าใด ในที่นอนที่นั่งอันสงัด อันตรายเหล่านั้น
มีเท่าไรในโลก.

[916] เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำ
อย่างไร พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงเป็น
ผู้มีศีลและวัตรอย่างไร.

[917] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร ความว่า

พระเถระ ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งวาจาว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้
ประกอบด้วยคลองแห่งถ้อยคำเช่นไร คือด้วยคลองแห่งถ้อยคำที่ดำรงไว้
อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.

ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจา


ความบริสุทธิ์แห่งวาจาเป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท คือพูดจริง ดำรงคำจริง มีถ้อยคำมั่นคง มี
ถ้อยคำเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณาวาจา เป็นผู้เว้น
ขาดจากปิสุณาวาจา คือฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย
คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่
โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง
มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน มีความ
เพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้เขาพร้อมเพรียง
กันด้วยประการดังนี้ ละผรุสวาจา เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา คือกล่าว
วาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึงหทัย
เป็นคำของชาวเมือง ที่คนหมู่มากพอใจ ชอบใจ ละสัมผัปปลาปะ เป็น
ผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ คือพูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐานมีที่อ้างอิง มีส่วนสุด
ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลควร เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต 4 กล่าว
วาจาปราศจากโทษ 4 งด เว้น เว้น ขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบ
ด้วยติรัจฉานกถา 32 ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่
ย่อมกล่าวกถาวัตถุ 10 อย่าง คืออัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา